ความเชื่อของชาวบ้านกับประเพณีบุญบั้งไฟ
ชาวบ้านเชื่อว่ามีโลกมนุษย์ โลกเทวดา
และโลกเทวดา มนุษย์อยู่ใต้อิทธิพลของเทวดา การรำผีฟ้าเป็นตัวอย่างที่แสดงออกทางด้านการนับถือเทวดา
และเรียกเทวดาว่า "แถน" เมื่อถือว่ามีแถนก็ถือว่า ฝน ฟ้า ลม
เป็นอิทธิพลของแถน หากทำให้แถนโปรดปราน มนุษย์ก็จะมีความสุข
ดังนั้นจึงมีพิธีบูชาแถน
การจุดบั้งไฟก็อาจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่แสดงความเคารพหรือส่งสัญญาณความภักดีไปยังแถน
ชาวอีสานจำนวนมากเชื่อว่าการจุดบั้งไฟเป็นการขอฝนจากพญาแถน
และมีนิทานปรัมปราเช่นนี้อยู่ทั่วไป แต่ความเชื่อนี้ยังไม่พบหลักฐานที่แน่นอน
ประเพณีบุญบั้งไฟยโสธร
จังหวัดหนึ่งในภาคอีสานที่จัดงานบุญบั้งไฟจนกลายเป็นงานประเพณีระดับชาติคือ
จังหวัดยโสธร โดยได้จัดเทศกาลงานประเพณีบุญบั้งไฟ ณ สวนสาธารณะพญาแถน
ในช่วงอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมก่อนที่จะถึงฤดูลงมือทำนา
โดยงานนี้ได้รับความสนใจอย่างมากเนื่องจากบุญบั้งไฟของชาวยโสธรเป็นบุญบั้งไฟนานาชาติโดยมีบั้งไฟจากประเทศญี่ปุ่น
และประเทศเพื่อนบ้านมาร่วมงานทุกปี ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก
และดึงดูดชาวต่างชาติเข้ามาเที่ยวชมจำนวนมาก มีการประกวดแห่เซิ้งบั้งไฟ
บั้งไฟสวยงาม ประกวดกองเชียร์ การประกวดธิดาบั้งไฟโก้ ฯลฯ
ซึ่งตลอดสัปดาห์ที่มีงานประเพณีดังกล่าวจังหวัดยโสธรในเวลาค่ำคืนจะไม่เงียบสงัดเหมือนทุกเดือนที่ผ่านมา
เพราะจะได้ยินแต่เสียงกลองตุ้ม ผ่าง ผสานเสียงกับการขับขานกลอนเซิ้ง
ที่บอกเล่าถึงตำนานบั้งไฟด้วยจังหวะแบบพื้นเมือง
ประเพณีบุญบั้งไฟเรียกได้ว่าเป็นประเพณีที่มีการสืบทอดมาอย่างยาวนานทีเดียว
อ๊ะ ๆ ... แต่สำหรับผู้ที่จะไปร่วมงานบุญบั้งไฟก็ระมัดระวังอุบัติเหตุกันด้วยนะจ๊ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น