ประเภทของบั้งไฟ บั้งไฟมี 2
ประเภท
ประเภทที่ 1
ได้แก่ บั้งไฟที่ไม่มีหาง เช่นบั้งไฟพุ บั้งไฟพะเนียง บั้งไฟตะไล บั้งไฟดอกไม้
บั้งไฟโครงขาว บั้งไฟม้า
ประเภทที่ 2
ได้แก่ บั้งไฟที่มีหาง ซึ่งแบ่งเป็น 4 หมวดหมู่ ดังนี้
1. บั้งไฟน้อย
เป็นบั้งไฟที่มีขนาดเล็กบั้งไฟชนิดนี้ถูกนำมาใช้เพื่อเสี่ยงทายดูว่าฝนจะตกต้องตาม
ฤดูกาลหรือไม่
ถ้าหากว่าบั้งไฟถูกยิงขึ้นไปสูงสุดหมายถึงฝนจะดี
2. บั้งไฟร้อย
เป็นบั้งไฟที่บรรจุดินปืนน้อยกว่า 12 กิโลกรัม
ซึ่งได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อการแข่งขัน
3. บั้งไฟหมื่น เป็นบั้งไฟที่บรรจุดินปืนระหว่าง
12 119
กิโลกรัม
4. บั้งไฟแสน
เป็นบั้งไฟที่มีขนาดใหญ่ที่สุดซึ่งบรรจุดินปืน 120
กิโลกรัมการแห่บั้งไฟ
นอกจากนี้
สามารถแบ่งประเภทของบั้งไฟได้เป็นแบบต่าง ๆ ดังนี้
1. บั้งไฟโหวด
บั้งไฟโบดหรือโหวดเป็นบั้งไฟขนาดเล็กตัวกระบอกจะยาวขึ้น
ประมาณ 4-10 นิ้ว บรรจุหมื่อหนักประมาณ 1
ส่วน 8 ถึง 1 ส่วน 2
กิโลกรัม ใช้หางยาวประมาณ 1-4 เมตร มีกระบอกไม้ไผ่เล็ก ๆ
มัดวางรอบตัวบั้งไฟ นิยมทำประกอบกันในบั้งไฟใหญ่ (บั้งไฟหมื่น, บั้งไฟแสน)
ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมทำ เพราะไม่มีช่าง
2. บั้งไฟม้า
บั้งไฟชนิดนี้เป็นบั้งไฟขนาดเล็กจุดไปตามทิศทางที่กำหนดใช้เส้นลวดเป็นวิถีตรึงไปยังเป้าหมายที่ต้องการ
ลักษณะทั่วไปเป็นบั้งไฟที่ทำจากกระบอกไม้ไผ่ 1
ปล้อง ขนาดแล้วแต่ต้องการ โดยทั่วไปเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2
นิ้ว ยาวประมาณ 1 ฟุตทางภาคกลางและภาคอีสานเรียกว่า ลูกหนู คล้ายม้าที่กำลังวิ่ง ถ้าติดรูปอะไรก็เรียกชื่อไปตามนั้น เป็นคนขี่ม้า รูปวัว แล้วแต่จะทำรูปอะไร บางครั้งภาคเหนือเรียกว่า บอกไฟยิง
3. บั้งไฟช้าง
บั้งไฟชนิดนี้ไม่มีหาง
มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่ากระโพกหรือตะโพก
เวลาจุดไม่ต้องการให้พุ่งขึ้นไปแต่ต้องการมีเสียงร้องคล้ายกับช้างร้อง
วิธีทำบั้งไฟให้ใช้กระบอกไม้ไผ่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดยาวเพียงป้องเดียวให้มีข้อปิดทั้ง
2 ด้าน ทุบไม้ไผ่ให้แตกเล็กน้อย เจาะรู
เพื่อบรรจุหมื่อแล้วต่อชนวนเข้ารูแท่งหมื่อทำจากหมื่อถ่าน 3-4
อัดลงในไม้ไผ่ขนาดเล็กให้แน่น แล้วผ่าเอาแท่งหมื่อออกมาคล้ายข้าวหลาม
ให้ได้แท่งประมาณ 3 นิ้ว การจุดนั้นนิยมต่อพ่วงชนวนบั้งไฟใหญ่
เวลาจุดชนวนผ่าจะเกิดเสียงดังเหมือนเสียงช้างร้อง นิยมวางต่อกันเป็นช่วง ๆ กระบอก
ถ้าต้องการจะให้มีเสียงดังอย่างไรก็จะมีเทคนิคในการทำให้เกิดเสียงนั้น ๆ
4. บั้งไฟแสน
บั้งไฟชนิดนี้เป็นบั้งไฟขนาดใหญ่ที่สุด
บรรจุดินปืนหนัก 120 กิโลกรัมขึ้นไป
บั้งไฟขนาดนี้ทำยากที่สุดจะต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษ
เพราะบั้งไฟขนาดนี้หากแตกแล้วจะเป็นอันตรายมาก เพราะฉะนั้นก่อนทำบั้งไฟจะต้องมีพิธีกรรมบวงสรวงให้ถูกต้องตามหลักการทำบั้งไฟแสนเสียก่อนจึงจะลงมือทำ
เมื่อตกบั้งไฟเสร็จเรียบร้อยแล้วจะมีการตกแต่งประดับประดาบั้งไฟ
5. บั้งไฟตะไล
บั้งไฟชนิดนี้ก็คือบั้งไฟจินายขนาดใหญ่นั่นเอง มีความยาวประมาณ 9-12
นิ้ว รูปร่างกลมมีไม้บาง ๆ แบน ๆ
เป็นวงกลมครอบหัวท้ายบั้งไฟเมื่อพุ่งขึ้นสู่ฟ้าไปโดยทางขวาง
6. บั้งไฟตื้อ
บั้งไฟตื้อหรือบั้งไฟกระแตนั่งตอ
เป็นบั้งไฟขนาดเล็กมีหางสั้น วิธีทำ ตัดกระบอกไม้ไผ่ขนาด 1
นิ้วครึ่งยาวประมาณ 3 นิ้ว อัดหมื่อให้แน่นประมาณ 2
นิ้ว ใช้หมื่อถ่านสามหรือถ่านสี่อัดด้วยเถียดไม้ให้แน่น ต่อหางซึ่งทำจากไม้ไผ่
เหลาเป็นแท่งเล็กๆ ใช้เลื่อยตัดมุมข้อออกจนเห็นหมื่อ เจาะให้เป็นรูเล็ก ๆ
แล้วติดชนวน เวลาจะจุดเอาหางเสียบลงในแท่นที่ตั้งพอให้ตั้งได้ จุดชนวนจากด้านบน
บั้งไฟจะพุ่งและหมุนขึ้นสู่อากาศ เกิดเสียงดังตือ ๆ เวลาหมุนจะไม่ค่อยมีทิศทาง
ใช้จุดในงานศพ เวลาจุดมีอันตรายมากไม่ค่อยนิยมทำกัน
7. บั้งไฟพลุ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น